Phapada's Blog

Cataloguing Librarian, Srinakharinwirot University

Archive for May 4th, 2017

รายงานการวิจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Posted by phapada on 05/04/2017

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ทำนายความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และมีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง

2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 8 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน (X3)  ด้านการได้รับผลตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม (X1)  ด้านประชาธิปไตยในองค์การ (X7) ด้านโอกาสและการพัฒนาความสามารถของตนเอง (X4)  ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงสุขภาพ (X2) ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว (X6) ด้านงานมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม (X8) และด้านการบูรณาการทางสังคม (X5)

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีด้วยกัน 4 ปัจจัย  โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปยังปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน (X3) ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงสุขภาพ (X2) ด้านประชาธิปไตยในองค์การ (X7)  และด้านงานมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม (X8) ปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยนี้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ร้อยละ 33.20

4. สมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แก่

4.1 สมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้คะแนนดิบ ได้แก่

Ŷ  = 1.811 + .259X3  + .101X2  +  .087X7  + .094X8  

4.2 สมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้คะแนนมาตรฐาน ได้แก่

Z = .352X3 + .138X2  + .129X7  + .104X8   หรือ

Z ความผูกพันต่อองค์การ = .352*Z ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน + .138*Zด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงสุขภาพ ­+ .129*Zด้านประชาธิปไตยในองค์การ + .104*Zด้านงานมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม

อ่านวิจัยฉบับเต็ม

อ่านบทความวารสาร

Posted in Research | Tagged: , , , | Leave a Comment »